บทความ 2

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพและความงาม

อ้างอิงจาก . . .   ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา.2548.เอกสารเผยแพร่ TNCEL (Thailand Network for the conversation and enhancement of landdraces of caltivated plants)
ประธานเครือข่ายพืชปลูกพื้นเมืองไทย

มะพร้าวเป็นพืชพื้นเมืองของไทย และบรรพบุรุษของคนไทยได้นำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้น จนมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้สารพัดประโยชน์ และเป็นพฤกษาชีวิน หรือ Tree of Life เพราะมันเป็นที่มาของปัจจัยสี่ คือ อาหารเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่โบราณกาล โดยที่คนไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเราได้ถูกชักชวนให้เลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว และกะทิ ซึ่งเป็นไขมันประเภทอิ่มตัว (ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง และเมื่อบริโภคเข้าไปร่างกายก็จะเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในกระแสโลหิต อันเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดทำให้หัวใจวายเพราะขาดเลือด) แล้วหันไปบริโภคน้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ โดยการโฆษณาว่าเป็นน้ำมันที่ไม่มี คอเลสเตอรอล ซึ่งจะช่วยลดอันตรายจากการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจ

เนื่องจากผู้ที่ออกมารณรงค์ดังกล่าว เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคหัวใจ และนักโภชนาการ (ซึ่งต่างก็ได้รับข้อมูลมาจากต่างประเทศ) จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจ ที่การรณรงค์ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม เพราะคนไทยต่างพากันเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว และลดการบริโภคกะทิ จนทำให้โรงงานผลิตน้ำมันมะพร้าวต้องปิดกิจการอันส่งผลให้ชาวสวนมะพร้าวต้องขาดรายได้ ผลที่ตามมาก็คือเศรษฐกิจทรุดตัวลง ประกอบกับต้องเสียเงินตราต่างประเทศเพื่อซื้อน้ำมันพืช หรือเมล็ดน้ำมันเหล่านั้นเข้ามาสกัดน้ำมันในเมืองไทย ประเทศไทยต้องจ่ายเงินให้ต่างชาติปีละประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำมันไม่อิ่มตัว หลังจากที่คนไทยต้องบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวเหล่านั้นไปนานๆการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม เพราะโรคหัวใจ ตลอดจนโรคอื่นๆเช่นมะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม โรคของต่อมไทรอยด์ ฯลฯ กลับเพิ่มมากขึ้น แทนที่จะลดลง

ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็ได้ตีพิมพ์รายงานที่ชี้ให้เห็นว่า การปรักปรำว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจนั้นไม่เป็นความจริงเพราะ ผลงานวิจัยสรุปได้ว่า “น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก” แต่น้ำมันไม่อิ่มตัวทั้งหลายกลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลายโรคที่ทำให้มนุษย์ต้องจบชีวิตลงก่อนวัยอันสมควร

ประจักษ์พยาน

  1. จากบรรพบุรุษของคนไทย

    น้ำมันมะพร้าว และกะทิ เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของคนไทยได้บริโภค และใช้มานานแล้ว อาหารไทยทั้งคาวและหวานหลายอย่าง ต้องใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นเครื่องปรุง มีการเล่าขานถึงการใช้กะทิ หรือน้ำมันมะพร้าวในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง กะทิและน้ำมันมะพร้าวได้เข้ามามีส่วนในงานประเพณีของคนไทยในภาคต่างๆเช่นในงานประเพณีสารทเดือนสิบของคนภาคใต้ ที่ชาวบ้านต้องช่วยกันเก็บมะพร้าวนำมาปอกเปลือกกะเทาะกะลา ขูดเนื้อมะพร้าว คั้นกะทิ เคี่ยวน้ำมัน

    นอกจากนั้นก็มีการบอกเล่าปากต่อปากถึงวิธีการบริโภค เพื่อบำรุงสุขภาพและความงามโดยการใช้น้ำมันมะพร้าวมาทานวดตัวเพื่อรักษาโรคกระดูก ปวดเมื่อย และรักษาผิวไม่ให้กร้านแดดและเหี่ยวย่น ตลอดจนใช้น้ำมันมะพร้าวมาชโลมผมให้ดกดำเป็นเงางาม แต่คนสมัยใหม่กลับพากันไปพึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยากันแดด ครีม โลชั่น ซึ่งหลายอย่างกลับเป็นผลเสียต่อสุขภาพ และความงามของผู้ใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

  2. จากชนชาติในเอเซีย และแปซิฟิก

จากการที่มะพร้าว เป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ชนชาติในดินแดนเหล่านี้ต่างก็ยกย่องให้มะพร้าว เป็นต้นไม้ให้ชีวิต (Tree of Life) เพราะมะพร้าวเป็นต้นไม้เอนกประสงค์

แต่ไหนแต่ไรมา ชนชาติของประเทศในทวีบเอเซีย เช่นศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งบริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง และแน่นอนได้ใช้กะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบของอาหาร แม้ว่าโภชนาการของประเทศเหล่านี้จะไม่เลอเลิศเหมือนดั่งประเทศตะวันตกในปัจจุบัน แต่เขาเหล่านั้นก็มีสุขภาพดี แข็งแรง ที่สำคัญไม่ค่อยมีคนอ้วนและเป็นโรคของคนสมัยใหม่เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน ฯลฯ

ในด้านความงามก็เช่นเดียวกัน คนพื้นเมืองในประเทศเหล่านี้แม้ว่าบางเชื้อชาติจะมีผิวคล้ำแต่ก็มีรูปร่างสมส่วนไม่อ้วนเป็นพะโล้เหมือนสาวฝรั่งส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ผอมแต่ ที่สำคัญมีผิวที่เนียนไม่แตกลายเหี่ยวย่น แต่ชุ่มฉ่ำและดูอ่อนเยาว์ ส่วนเส้นผมก็ดกดำเป็นเงางามเพราะชโลมเส้นผมด้วยน้ำมันมะพร้าว

เขาหลอกให้เราเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว

แล้วอยู่มาวันหนึ่งพวกเราทั้งหลายในเอเซีย และแปซิฟิก ซึ่งรวมทั้งคนไทยด้วยก็ได้รับการแนะนำโดยเหล่าบรรดาแพทย์โรคหัวใจ และนักโภชนาการว่าไม่ควรบริโภคกะทิ และน้ำมันมะพร้าว เพราะจะทำให้อ้วนและเป็นโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ

ใครหนอบังอาจหลอกเราได้?สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ปลูกถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดในโลกได้ผลผลิตปีละ 80 ล้านตัน และสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่างๆได้นับเป็นพันๆชนิด และสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เด่นที่สุดคือ น้ำมันถั่วเหลือง อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันพืชจากเมล็ด เช่นน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด รายใหญ่ของโลกอีกด้วย

แล้วเราก็ถูกหลอกจนได้ครั้นเมื่อผลิตน้ำมันถั่วเหลืองได้มากขึ้น แต่มีตลาดจำกัด สมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน (American Soybean Association – ASA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้กสิกรผู้ปลูกถั่วเหลืองชาวอเมริกัน 3 แสนครอบครัวจึงรณรงค์ให้มีการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองให้มากขึ้น โดยโฆษณาว่าน้ำมันถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ที่บำรุงสุขภาพและลดการเป็นโรคหัวใจ แต่การรณรงค์ดังกล่าวก็ไม่บังเกิดผลเท่าที่ควรโดยเฉพาะในทวีปเอเซียและแปซิฟิก เพราะคนพื้นเมืองยังชอบบริโภคน้ำมันมะพร้าวที่ทำให้อาหารมีรสดี เก็บไว้ได้นาน และมีราคาถูก ASA จึงหาเล่ห์กลที่ทำให้ผู้บริโภคเหล่านั้นเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าวให้ได้ โดยการปรักปรำว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เพราะเป็นไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ทั้งนี้ โดยการกล่าวอ้างถึงผลการวิจัยชิ้นหนึ่งที่สรุปว่าไขมันอิ่มตัวมีคอเลสเตอรอลสูง และเป็นสาเหตุของไขมันอุดตันในเส้นเลือด ทั้งๆที่ไขมันที่นำมาใช้ในการทดลองดังกล่าวเป็นไขมันจากสัตว์ เช่นน้ำมันหมู ไขมันจากเนื้อ และน้ำมันมะพร้าวที่เสื่อมสภาพ (เพราะผ่านกรรมวิธีในการสกัดที่ใช้ความร้อนสูง และสารเคมี) ASA ก็ถือโอกาสสรุปเอาเลยว่าไขมันอิ่มตัวทุกชนิดเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และใช้ประเด็นนี้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และร้านอาหารประเภทจานด่วนเลิกใช้น้ำมันมะพร้าวผลก็คือไม่แต่เฉพาะคนอเมริกันและยุโรปเท่านั้น ที่พากันเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว และสิ่งแรกก็คือโรงงานน้ำมันมะพร้าวทั่วโลกต้องหยุดกิจการ และชาวสวนมะพร้าวขาดรายได้

เมื่อพระเอกกลายเป็นผู้ร้ายหลังจากที่ทุกคนพากันบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง ชาวอเมริกันกว่า 60 เปอร์เซ็นพากันมีน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด ที่สำคัญกว่านั้นคือการเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคร้ายแรงหลายโรค เช่นมะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน โรคของต่อไทรอยด์และอีกสารพัดโรค ที่คนทั้งโลกต้องประสบอยู่เป็นผลมาจากการบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันพืชที่ไม่อิ่มตัวอื่นๆเช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด

เมื่อผู้ร้ายกลับกลายมาเป็นพระเอกจากผลงานวิจัยในระยะหลังๆ ของนักวิทยาศาสตร์หลายสาขา และส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันเองที่ยังซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน สรุปได้ว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา (ซึ่งเป็นเรื่องของผลประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงจริยธรรม) แต่กลับเป็นน้ำมันพืชที่มีคุณค่าต่อสุขภาพและความงามของมนุษย์มากที่สุดในโลก

องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

  1. น้ำมันมะพร้าวที่สกัดได้จากเนื้อมะพร้าวห้าวโดยการบีบ หรือใช้ตัวทำละลาย ผ่านความร้อนสูงและขบวนการทางเคมี RBD คือการทำให้บริสุทธิ์ (Refining) ฟอกสี (bleaching) และกำจัดกลิ่น (deodorization) หลังจากที่สกัดได้ เพื่อให้เหมาะสำหรับการบริโภค ได้น้ำมันสีเหลืองอ่อนไม่มีกลิ่นและรส ปราศจากวิตามินอี (เพราะถูกขจัดออกไปโดยขบวนการทางเคมี) มีปริมาณกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ไม่เกิน 0.1% ปัจจุบันไม่ค่อยมีจำหน่ายแล้ว เพราะโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าวประเภทนี้ส่วนใหญ่เลิกดำเนินการไปนานแล้ว
  2. น้ำมันมะพร้าวที่ผ่านขบวนการบีบโดยไม่ผ่านความร้อน (cold pressed coconut oil) ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidationj) มีค่า peroxide และกรดไขมันอิสระต่ำมีกลิ่นมะพร้าวชนิดที่ว่า น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (Virgin coconut oil )

  • เป็นไขมันอิ่มตัว

น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว กว่า 90% อะตอมของธาตุคาร์บอนของกรดไขมันอิ่มตัวจะต่อกันเป็นเส้น โดยมีพันธะเดี่ยว จับกันเองจนเป็นเส้นยาวตามจำนวนของคาร์บอน แต่ละอะตอมของคาร์บอนจะมีไฮโดรเจนติดอยู่ 2 ตัว เนื่องจากแต่ละอะตอมของคาร์บอนไม่สามารถรับไฮโดเจนได้อีกเพราะไม่มีพันธะ ว่าง จึงเรียกน้ำมันที่มีกรดไขมันประเภทนี้ว่า น้ำมันอิ่มตัว กรดไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่ มีจำนวนอะตอมของคาร์บอน 8-14 ตัว กรดไขมันที่สำคัญได้แก่กรดคาบริก กรดลอริก และกรดไมริสติก ทำให้โมเลกุลมีความยาวของเส้นขนาดปานกลางน้ำมันมะพร้าวยังประกอบไปด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว อีก 2 ประเภทแต่มีเพียง 9 % ประเภทแรกได้แก่กรดไขมันที่มีอะตอมของคาร์บอน 1 ตัวไม่มีไฮโดเจน 2 ตัวมาจับ มันจึงจับกันเองด้วยพันธะคู่ กรดไขมันที่มีพันธะคู่เพียงหนึ่งคู่นี้เรียกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ส่วนใหญ่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนมาก จึงทำให้โมเลกุลของมันมีความยาวมาก เช่น กรดลินโนเลอิก เนื่องจากกรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทอิ่มตัวเราจึงเรียกน้ำมันมะพร้าวว่า น้ำมันอิ่มตัว

  • มีกรดลอริกสูงมาก

น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันจากพืชชนิดเดียวในโลกที่มีกรดลอริกอยู่ในปริมาณที่สูงมาก และกรดลอริกนี้เอง ที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมสุขภาพและความงามของมนุษย์ น้ำมันมะพร้าวยังมีกรดคาปริก ซึ่งแม้ว่าจะมีน้อยกว่ากรดลอริก คือมีเพียง 6-7 % แต่ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของลอริก

  • มีวิตามินอีที่มีอนุภาพสูง

น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านขบวนการ RBD ยังคงมีวิตามินอีเหลืออยู่ และก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวโดดเด่นมากกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ

บทบาททางสรีระวิทยาของน้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันพืชที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างไปจากน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 4 และแต่ละองค์ประกอบมีบทบาทางสรีรวิทยาที่เสริมให้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพและความงามของผู้บริโภค ดังที่จะอธิบายดังต่อไปนี้

  • ความอิ่มตัว เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวโดยที่พันธะ ที่จับกันระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว ทำให้มีความเสถียร หรืออยู่ตัว และ จึงไม่ถูกอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรก ได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะพวกที่เป็นเชิงช้อน ซึ่งมีพันธะคู่หลายตำแหน่ง น้ำมันเหล่านี้ได้แก่น้ำมันถั่วเหลือง คำฝอย ทานตะวัน ข้าวโพด เรพซีด คาโนลา ฯลฯ

ไม่ถูกเติมไฮโดรเจน น้ำมันมะพร้าวไม่ผ่านขบวนการเติมไฮโดเจน ซึ่งผลิตน้ำมันมะพร้าวไม่อิ่มตัว ดังเช่นน้ำมันถั่วเหลือง ทาตะวัน คำฝอย ข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งมีพันธะคู่อันเป็นจุดอ่อนของโมเลกุล จึงถูกเติมไฮโดเจนในขบวนการทำให้บริสุทธิ์ป้องกันการหืน และเมื่อถูกความร้อนสูง ทำให้โมเลกุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเปลี่ยนรูปของโครงสร้างจากรูปโค้ง เป็นรูปตรง เกิดเป็นโครงสร้างจากรูปโค้ง เป็นรูปตรง เกิดเป็นซึ่งทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ อันเป็นผลทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ อันเป็นผลทำให้เซลล์อ่อนแอจนเชื้อโรคและสารพิษเข้าไปได้สะดวก ก่อให้เกิดโรค มะเร็งเปลี่ยนแปลงกลไกของร่างกายในการขจัดคลอเลสเตอรอล โดยการขัดขวางการเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในตับจึงทำให้มีปริมรคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ลดปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองของมารดา เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรลในเพศชาย ฯลฯ

    • ไม่ถูกเติมออกซิเจน เนื่องจากโมเลกุลของน้ำมันมะพร้าวมีพันธะเดี่ยว ด้วยเหตุนี้จึงไม่ถูกเติมออกซิเจน ตั้งแต่การแปรรูป และตลอดระยะเวลาของการเก็บรักษาแม้ว่าจะไม่ได้บรรจุอยู่ในขวดทึบแสง และเก็บในอุณหภูมิห้อง
    • ไม่หืน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวไม่ถูกเติมไฮโดเจน และออกซิเจนจึงไม่เหม็นหืน โดยเฉพาะ น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ เป็นน้ำมันที่ไม่มีน้ำหลงเหลืออยู่ ดังนั้นแม้ว่าจะเก็บไว้นานและถูกแสงแดดก็จะไม่หืน เพราะไม่เกิดการเติมออกซิเจนให้เกิดสารเปอร์ออกไซด์ และแม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวอยู่บ้าง แต่เนื่องจากมีกรดไขมันอิ่มตัวอื่นๆ มากพอที่จะต่อต้านการเกิด ดังนั้นนำมันมะพร้าวจึงไม่หืน
    • การเป็นกรดไขมันขนาดกลาง การที่กรดไขมันในน้ำมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีมันมีคุณสมบัติเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากกรณีดังต่อไปนี้

    • เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว ร่างกายของมนุษย์สามารถเปลี่ยนน้ำมันมะพร้าวให้เป็นพลังงานอย่างรวดเร็ว เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านจากกระเพาะไปยังลำไส้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย
    • เพิ่มอัตราเมตาบอลิสซึม นอกจากจะเปลี่ยนพลังงานอย่างรวดเร็วดังได้กล่าวมาแล้ว น้ำมันมะพร้าวไปเร่งอัตราการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน หรือเมตาบอลิสซึม เพราะมันมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง โดยไปกระตุ้นต่อไทรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้น คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ไทรอยด์ ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดาบุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เป็นคนกระฉับกระเฉง และไม่อ้วน เพราะน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไป ถูกเผาพลาญเป็นพลังงานหมดไม่สะสมเป็นไขมันในร่างกาย
    • ช่วยลดน้ำหนัก การบริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากจะไม่ทำให้อ้วนแล้ว ยังสามารถลดความอ้วนจากผลของการเกิดความร้อนสูงในร่างกาย โดยการไม่นำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้จนมีคำกล่าวที่ว่า Eat Fat-Look Thin

กรดลอริกและโมโนลอริน

น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก อยู่ประมาณ 50 % กรดนี้มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมันมีความสามารถพิเศษคือ

    • สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าว จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรกที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กระยะแรกเกิด ไม่ค่อยเป็นโรคอะไร
    • ฆ่าเชื้อโรค โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ลำายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตชัว และไวรัส รวมทั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดหลอดเลือกแข็งตัว เกี่ยวกับเรื่องนี้น้ำมันมะพร้าวมีข้อดี 3 ประการคือ

กรดคาปริกและโมโนคาปริน

แม้ว่าจะมีอยู่เพียง 6-7 % แต่กรดคาปริก ก็ช่วยเสริมประสิทธิภาพของโมโนลอริน โดยการเปลี่ยนแปลงเป็นสารโมโนคาปริน เมื่อน้ำมันมะพร้าวถูกบริโภคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกันกับโมโนลอริน ทั้งนี้ก็เพราะประสิทธิภาพของการทำงานของโมโนลอริน และโมโนคาปรินขึ้นอยู่กับปริมาณที่มีอยู่

วิตามิน น้ำมันมะพร้าว ที่ผลิตจากมะพร้าวแห้งที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ตลอดจนถูกแสงแดดและความร้อน เมื่อนำไปสกัดน้ำมันมะพร้าวโดยวิธีหีบหรือ การใช้ตัวทำละลาย จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ดี โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้มันไม่หืน และเมื่อถูกนำไปผ่านขบวนการทางเคมี RBD คือ การทำให้บริสุทธิ์ การฟอกสี และกำจัดกลิ่น ก่อนที่จะนำไปบริโภคจะสูญเสียวิตมินอีไป แต่ก็ยังคงเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ ตราบใดที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยขบวนการเติมไฮโดรเจน โดยการเติมสารกันเสีย เพื่อรักษาสภาพให้คงทนและไม่หืน แต่น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ ซึ่งสกัดได้โดยวิธีหมัก หรือวิธีบีบเย็นไม่ใช้อุณหภูมิสูง และไม่ผ่านขบวนการทางเคมี จะยังคงมีวิตามินอีดังต่อไปนี้

    • ต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านการเติมออกซิเจน โดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน ได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มสกัด ตลอดจนระหว่างการขนส่ง การวางจำหน่าย และการเก็บรักษาก่อนบริโภค จึงเกิดเป็นอนุมูลอิสระได้ง่ายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะไปลบล้างประสิทธิภาพ ที่มีอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่มีเกิดผลเสียแก่เซลล์และเนื้อเยื่อ เนื่องจากอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่เปลี่ยนสภาพโดยสูญเสียอีเล็กตรอน ในวงแหวนรอบนอก กลายเป็น โมเลกุลเกเร เที่ยวไปขโมยอีเล็กตรอนจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้เคียง และโมเลกุลที่สูญเสียอีเล็กตรอนไปก็จะไปขโมยอีเล็กตรอนจากโมเลกุลข้างเคียงอื่น ๆ ต่อไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นผลทำให้เซลล์วิปริตไป เช่น เกิดการกลายพันธ์ ฯลฯ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อม เช่นโรคมะเร็วหัวใจ มะเร็ง ไขข้ออักเสบ เบาหวาน โรคภูมิแพ้ ชราภาพก่อนวัย ฯลฯ

       

    • ประกอบด้วยสารโทโคไทรอีนอลที่มีอานุภาพสูง วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีคุณภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอลซึ่งอยู่นวิตามินอีทั่วไป โดยเฉพาะที่มีอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวถึง 40-50 เท่า ด้วยเหตุนี้ น้ำมันมะพร้าวจึงต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ

สุขภาพที่ดีของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับสภาพ 4 ประการคือ

    1. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
    2. การปลอดจากโรคที่ไม่ติดเชื้อ
    3. การปลอดจากโรคติดเชื้อ
    4. การรักษาโรค

น้ำมันมะพร้าวได้เข้ามามีบทบาทต่อสุขภาพของมนุษย์ ผ่านทางสถานภาพทั้ง 4 ดังต่อไปนี้

  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

จากบทบาทหน้าที่ทางสรีรวิทยาของน้ำมันมะพร้าว ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวมีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน และเกลือแร่ ที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยการเพิ่มการดูดวิตามิน และเกลือแร่ กรดอะมิโน เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก จึงถูกย่อยง่าย และเคลื่อนที่เร็วไปตามของเหลวในร่างกาย จึงเป็นที่นิยมให้หุงต้มอาหารสำหรับคนไข้ที่มีปัญหาการย่อยไขมัน และยังใช้ในสูตรน้ำมัน เพื่อให้ไขมันที่จำเป็นแก่เด็กทารก และช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูก6

  • ช่วยให้ปลอดจากโรคไม่ติดเชื้อ

คำว่า โรค นั้น หมายถึง อาการที่ผิดปกติมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ และสาเหตุอื่นซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า โรคที่ไม่ติดเชื้อ น้ำมันมะพร้าว มีส่วนช่วยไม่ให้มนุษย์เป็นโรคไม่ติดเชื้อ และทำให้ร่างกายอ่อนแอจนถึงเสียชีวิตได้

โรคที่ไม่ติดเชื้อ ที่น้ำมันมะพร้าวมีส่วนในการลดอัตราการเกิดได้แก่

    • โรคหัวใจ น้ำมันมะพร้าว ถูกปรักปรำว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เพราะมีคอเลสเตอรอลสูง แต่จากการวิเคราะห์พบว่าน้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยมาก เพราะมีเพียง 14 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งน้อยกว่าน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งมี 28 ส่วน และที่สำคัญคือ เมื่อบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย มันก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอล ในกระแสโลหิต อีกทั้งยังไม่ได้ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวเหมือนกับน้ำมันพืชประเภทไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกเติมไฮโดรเจน ในขบวนการผลิต และถูกเติมออกซิเจน ระหว่างเดินทางก่อนถูกบริโภค จนเกิด เป็น trans fatty acids ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลิ่มเลือด และไปอุดตันหลอดเลือด นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวยังมีวิตามินอีที่ช่วยขยายหลอดเลือด และป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ นักโภชนาการสมัยใหม่จึงสรุปว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้หัวใจมีสุขภาพดีเพราะมันเป็นหนึ่งในสองชนิดของน้ำมันบริโภค ซึ่งช่วยลดความหนืดของเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
    • โรคมะเร็ง น้ำมันมะพร้าว มีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งด้วยกลไกสองวิธีคือ

    1. เนื่องจากเป็นน้ำมันประเภทอิ่มตัวจึงไม่ถูกเติมไฮโดรเจน และแตกตัวเมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง
    2. มีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์ของยีนเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง และการทำร้ายเซลล์ การใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมตัว ก็ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ดีกว่ายาทากันแดดราคาแพง

    • โรคอ้วน โรคอ้วนนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาพต่างๆ เช่นการมีไขมันในเลือดสูงเป็นโรคเบาหวานมีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนโรคข้ออักเสบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ฯลฯ การบริโภคน้ำมันมะพร้าวจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสูง ทำให้ร่างกายสะสมอยู่ นำไปใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจึงไม่อ้วน และถ้าอ้วนอยู่แล้วก็จะผอมลง
    • โรคเบาหวาน ผลพลอยได้ของการเพิ่มอัตราการเผาพลาญอาหารให้เป็นพลังงานจากการบริโภคน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่างกายไม่สะสมน้ำตาล เพราะถูกใช้ไปเป็นพลังงานหมดอีกทั้งยังไม่ทำให้ผู้ป่วยอยากรับประทานอาหารที่เป็นแป้งหรือน้ำตาล จึงช่วยลดอาการเกิดโรคเบาหวานไปโดยปริยาย
    • โรคปวดเมื่อย โรคชราภาพก่อนวัย โรคมะเร็งผิวหนัง และโรคกระดูก น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้ดี เพราะมีขนาดของโมเลกุลเล็กจึงนิยมใช้นวดตัวให้หายปวดเมื่อย และผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังป้องกันการทำลายของแสงอัตราไวโอเล็ตที่ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย และเป็นมะเร็งผิวหนัง น้ำมันมะพร้าวยังช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื่นไม่แตกสะเก็ดและช่วยสร้างเสริมพัฒนาการของกระดูกให้แข็งแรง แพทย์แผนไทยจึงนิยมนำน้ำมันมะพร้าวมาประกอบเป็นสูตรยาแผนโบราณในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกอันเนื่องมาจากการประสบอุบัติเหตุ
    • ช่วยให้ร่างกายปลอดจากโรคติดเชื้อ จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคเป็นสาเหตุของการเกิดโรคของมนุษย์มากมายเหลือคณานับ แต่ก็แปลกที่เด็กทารกแรกคลอดที่ดูดนมมารดาเป็นประจำมักไม่ค่อยเป็นโรคเหล่านี้ ทั้งที่ก็เพราะมีภูมิคุ้มกันที่ได้มากจากน้ำนมมารดา ได้มีการค้นพบว่าสารสำคัญในน้ำนมน้ำเหลืองของมารดานี้ คือกรดลอริก ซึ่งเมื่อเข้าไปในร่างกายก็เปลี่ยนไปเป็นสารโมโนลอริน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะ นี่เองคือคำตอบที่ทำให้เด็กทารกที่ดูดนมแม่แล้ไม่ค่อยเป็นโรคอะไร

จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันมะพร้าวพบว่ามีกรดลอริกสูงมาก 48-53 % ซึ่งมากกว่านน้ำนมมารดา ในปัจจุบันวงการแพทย์ยังได้แนะนำให้ประชาชนกินยาเม็ดที่มีโมโนลอรินเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค

  • การรักษาโรค จากการที่น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อ และสามารถถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้ดีและรวดเร็ว ตำราอายุเวรของอินเดียจึงได้ใช้น้ำมันมะพร้าวในการรักษาโรคมาไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี แพทย์แผนไทย ก็ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรค ทั้งภายในและภายนอก มาเป็นเวลาช้านาน เช่นในตำราพระโอสถพระนารายณ์นั้น ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ใช้เป็นยานวดแก้ปวดเมื่อย แก้แผลเน่าเปื่อย ส่วนตำราแพทย์ไทยในปัจจุบันแนะนำใช้น้ำมันมะพร้าวรักษาโรคกระดูกที่เกิดจากอุบัติเหตุ รักษาเม็ดผดผื่นคัน ลบริ้วรอย แผลฟกช้ำ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ และป้องกันแสงแดด แม้กระทั่งแพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตกก็ให้คนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารหรือการดูดซึ่มอาหาร และเด็กทารก รวมทั้งเด็กเล็กที่ไม่สามารถย่อยไขมัน กินน้ำมันมะพร้าวเป็นยารักษาโรคเหล่านี้

ในบรรดาโรคต่างๆ ที่น้ำมันมะพร้าวรักษาได้ มีดังต่อไปนี้

    • โรคที่เกิดจากเชื้อต่าง ๆ เชื้อโรคที่กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าว สามารถทำลายได้ ได้แก่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ เชื้อโปรโตชัว และเชื้อไวรัส โมโนลอริน ในน้ำมันมะพร้าว มีจุดเด่นสองประการคือ

    1. ไม่ทำให้เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค และ
    2. สามารถฆ่าเชื้อโรคบางชนิดที่มีเกราะไขมันห่อหุ่มเซลล์ ที่ยาปฏิชีวนะธรรมดา ไม่สามารถผ่านได้ แต่น้ำมันมะพร้าว สามารถละลายเกราะไขมันนี้ได้ แล้วจึงเข้าไปฆ่าเชื้อโรคเหล่านี้ เท่าที่ได้มีการวิจัยพบว่า เชื้อโรคที่มีเกราะไขมันห่อหุ้มนี้เป็นโรคร้ายในปัจจุบันที่รักษายากมาก เพราะทำลายมันไม่ได้ อย่างดีก็หยุดไม่ให้มันขยายพันธ์เชื้อโรคเหล่านี้ได้แก่ ไวรัสประเภท หัวแข็ง โดยเฉพาะไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และกำลังมีการทดลองเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล

  • โรคผิวหนัง ผิวหนังที่ถูกอนุมูลอิสระเข้าทำร้าย จนเกิดเป็นแผลที่เชื้อโรคจะเข้าทำลายต่อ โมโนลอรินในน้ำมันมะพร้าว ซึ่งเป็นสารปฏิชีวนะช่วยกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้
  • รังแคหนังศรีษะ น้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดรังแคหากชโลมผมด้วยน้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษารังแคหนังศรีษะได้